เมนู

ภควโต อัปปาพาธปัญหา ที่ 9


สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการ ตรัสถามอรรถเป็นปริศนาสืบไปเล่าว่า
ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชาญาณ สมเด็จพระบรมโลกนาถศาสดาจารย์ มีพระ
พุทธฎีกาตรัสว่า ตถาคตนี้ พฺราหฺมโณ เป็นพราหมณ์ ยาจโยโค ผู้ควรซึ่งยาจกจะพึงขอ ปยต-
ปาณี
ล้างมือไว้คอยท่าจะให้ทาน อนฺติมเทหธโร ทรงไว้ซึ่งกายอันเป็นที่สุดชาติเดียว อนุตฺตโร
เป็นผู้ยิ่งหาสิ่งเปรียบมิได้ ภึสโก เป็นหมอรักษาไข้ทั้งปวง นี่แหละ พระองค์ตรัสยกยอพระ
องค์ว่าประเสริฐกว่าสรรพสัตว์สิ่งทั้งปวง พระพุทธองค์เจ้าตรัสฉะนี้แล้วกลับมีพระพุทธฎีกา
ตรัสสรรเสริญยกย่องพระพากุลเถระในตำแหน่งเอตทัคคะว่า พระพากุลภิกษุนี้ มีอาพาธน้อย
ประเสริฐกว่าภิกษุทั้งหลายบรรดาที่เป็นสาวกของพระองค์ ดังนี้ และพระผู้ทรงพระภาคก็
ได้ทรงประชวรเป็นหลายครั้ง เห็นปรากฏอยู่ โยมนี้สงสัยแคลงใจนัก ไม่รู้ว่าจะเชื่อคำไหน จะ
เชื่อคำต้น คำหลังจะก็ผิดไป ครั้นจะเชื่อคำหลังไซร้ คำต้นก็จะผิด โยมคิด ๆ ดูก็หารู้ที่จะกำหนด
ไม่ ไฉนพระพุทธฎีกาจึงเป็นสองไม่ต้องกัน อยํ ปญฺโห ปริศนานี้ อุภโต โกฏิโก มีที่สุดเป็นสอง
เงื่อน ตฺวานุปฺปตฺโต มาถึงพระผู้เป็นเจ้า พระผู้เป็นเจ้าจงวิสัชนาให้โยมแจ้งก่อน
เถโร อาห พระนาคเสนผู้ทรงอริยสังวรจึงวิสัชนาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตร
พระราชสมภารผู้ประเสริฐ พระอสีติมหาสาวกทั้งหลาย 80 รูปมีคุณวิเศษต่างๆ กัน สมเด็จ
พระสัพพัญญูบรมครูเจ้าก็ยกเป็นเอตทัคคะ ตามคุณวิเศษต่าง ๆ กัน ใช่ว่าพระองค์เจ้าจะยกย่อง
พระพากุลเถระว่า พระพากุลเถระนี้เป็น อนุตฺตโร ไม่มีผู้อื่นจะยิ่งกว่าหรือเสมอเหมือนพระ
องค์ก็หามิได้
ซึ่งสมเด็จพระองค์เจ้าตรัสว่า พฺราหฺมโณ พระองค์เป็นพราหมณ์นั้น ด้วยพระองค์ทรง
เที่ยวบิณฑบาตโปรดสัตว์โลกทั้งปวง ดุจพราหมณ์ยาจกอันเข้าทุกตรอกออกทุกบ้าน เที่ยวขอ
ทานเลี้ยงชีวิต ประการหนึ่ง สมเด็จพระพิชิตมารตรัสว่า ภึสโก พระองค์เหมือนหมอยารักษาไข้
นั้น ด้วยฝูงสรรพสัตว์ทั้งปวงประกอบด้วยทุกข์ 4 กอง คือชาติที่ปฏิสนธิในครรภ์มารดานี้
ลำบากเหมือนหนึ่งว่าตกนรก จะหาสุขสักหน่อยให้มีความสบายเท่าปลายเข็มนั้นก็ไม่ได้ จึงจัด
ว่าเป็นทุกข์กองใหญ่ประการ 1 ชราทุกข์นั้นเกิดมาแล้ว เมื่อจำเริญวัยก็ดูผ่องใสโสภา ครั้น
แล้วก็ชราภาพมีกายสั่นระเทิมเทา มีเกสาขาว ขณฺฑนฺตา ฟันก็หลุดหล่นไป อาหารที่เคย
เคี้ยวได้นั้นก็เคี้ยวไม่ได้ เสื่อมรสไป จะพูดจาเขฬะก็ไหลออกปาก ขณะเมื่อนอนนั้นก็ดี มีน้ำ
เขฬะไหลเหตุหาฟันจะกันมิได้ เนื้อหนังเหี่ยวแห้งไป เท้ามือไม่เป็นใหญ่ง่อนแง่นนักหนา ทณฺฑ-
ปรายโน
ถือไม่เท้าจดจ้องไปข้างหน้า ถึงซึ่งสภาวะเป็นที่เกลียดชังยิ่งนัก จะว่าไปนักจะยาวความ
เหตุฉะนี้แหละจึงชื่อว่าชราทุกข์ เป็นทุกข์ใหญ่กอง 1 พยาธิทุกข์นั้น คือฉันนวุติกโรค 96